เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559 ผู้เขียนได้รับโอกาสให้เข้าร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ได้เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากคุณปัณฑ์ชนิต บุญมา หัวหน้าห้องสมุด ห้องสมุดคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ชั้น 3-4 อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวราช 80 ทางเข้าห้องสมุดอยู่ที่ชั้น 3 ภายในห้องสมุดตกแต่งอย่างสวยงาม มีห้องประชุมกลุ่มย่อย มีบริการสืบค้นข้อมูลวิชาการด้วยคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย บริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ บริการห้องวารสาร และบริการเครื่องฝึกหัดหัตถการทางทันตกรรม
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559 เวลา 13.30 16.00 น. คณะอนุกรรมการการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนนักปฏิบัติงานบริการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ให้กับบุคลากร ใน หัวข้อ แนวปฏิบัติการยืมหนังสือข้ามสาขา และการจัดการหนังสือจอง ในวันที่ 22 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุมดอกคูน วิทยากรโดย นางสงวน พงศ์กิจวิทูร โดยมีการสรุปประเด็นปัญหาจากการ KM ในวันดังกล่าว ตามไฟล์นี้ https://drive.google.com/open?id=0B7fCZ2TltdXyMlZxeVVUWmxSTkE
ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการสอบ NL โดยเชิญแพทย์ที่ผ่านการสอบ NL แล้ว มาบรรยายวิชาการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบเมื่อเรียนปี 3 ปี 5 และปี 6 เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ทราบว่าการเรียนแพทย์ หรือการสอบ NL ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องทราบว่าจะอ่านอะไร และวางแผนในการเตรียมตัวสอบอย่างไรเท่านั้น กิจกรรมนี้ ได้รับความสนใจจาก นศ.พ. มาก แต่ระยะเวลาน้อยเกินไป จึงขอนำภาพกิจกรรมมานำเสนอ
ปีการศึกษา 2559 ฝ่ายวิชาการ ได้ส่งนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 1 มา Tour ห้องสมุด เพื่อให้รู้จักแหล่งเรียนรู้ด้วยตัวเอง ดังนั้นห้องสมุด จึงแบ่งกลุ่มนำชม เพื่อแนะนำพื้นที่ห้องสมุด การจัดเก็บสารสนเทศ การเข้าใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ e-Books และฐานข้อมูลด้าน EBM ต่างๆ เช่น UpToDate; DynaMed และ BMJ Best Practice เป็นต้น
คนที่ทำอะไรแล้วรัก หรือชอบ จะทำให้เรามีความสุข และจะรู้สึกว่า วันเวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก แต่ทุกวันนี้งานหายาก ดังนั้น ถ้าเราทำในสิ่งที่ตัวเองรักไม่ได้ ก็ต้องรักในสิ่งที่ตัวเองทำแล้วเราจะทำได้ดี รู้สึกดีใจ ที่มีเพื่่อนร่วมงานหลายประเภท แต่ทุกคน ทำงานด้วยใจทั้งนั้น ทุกคนรู้หน้าที่ รักที่จะให้บริการ เมื่อใครมีปัญหาในการให้บริการผู้ใช้ ทุกคนจะเข้ามาช่วยกัน แต่ลักษณะของห้องสมุดแพทย์ ผู้ใช้บริการจะเป็นคนที่ต้องการอะไรเร็วๆ แม้การบรรยาย ก็ต้องสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความ ดังนั้น เราจะแนะนำอะไรแพทย์ได้ ต้องรู้จัก Short cut เพื่อถ้าใช้เวลานาน ผู้เรียนจะไม่มีเวลามาเรียนรู้
เห็นแค่หัวข้อก็งงแล้วใช่มั้ยคะ อะไรค้น 1 ได้ 3. หลายท่านคงเคยค้นวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่หน้าเว็บ OPAC กันใช่มั้ยคะ หลังจากค้นก็จดเลขหมู่ไปหาตัวเล่มที่ชั้น แล้วเอาไปยืมไม่ก็ถ่ายเอกสาร ใช้เสร็จก็เขียนอ้างอิง ใช้เวลาไปเท่าไหร่แล้วเนี่ยยยย. ก็เป็นขั้นตอนปกตินี่นาาาา นั่นแหละค่ะ วันนี้เราจะมาเสนอวิธีการที่สะดวกและรวดเร็วมากกว่านั้น เพียงแค่ค้นวิทยานิพนธ์ที่หน้า OPAC จะได้ 1. รายละเอียดทางบรรณานุกรม ; ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขหมู่ จะจดเลขหมู่ไปหาที่ชั้นต่อก็ได้ค่ะ
Tips Trick การสร้างสุขในการทำงาน
การจัดกิจกรรมให้ดึงดูดผู้ใช้บริการให้เข้าร่วมนั้นนับเป็นเรื่องยากของห้องสมุดเป็นอย่างยิ่ง ด้วยข้อจำกัดของการเปิดทำการของห้องสมุด และการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย จากที่ผ่านมาช่วงเวลาการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมพบนักเขียน กิจกรรมสุดยอดนักยืม สุดยอดนักอ่าน กิจกรรมวาดภาพ กิจกรรมตอบคำถามต่างๆของห้องสมุด มีอุปสรรคเรื่องของเวลาการเช้าร่วมกิจกรรมกับเวลาเรียนชนกัน ส่งผลให้บางกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ดีและผู้ใช้บริการสนใจ แต่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ ดังนั้นภารกิจประชาสัมพันธ์และลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งดูแลรับผิดชอบช่องทางประชาสัมพันธ์ ของสำนักหอสมุดครอบคลุมทุกช่องทางแล้วนั้น จึงได้ออกแบบกิจกรรมและศึกษาเทคนิคต่างๆให้ดึงดูดผู้ใช้บริการให้เข้าร่วมกิจกรรมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางมาห้องสมุดจึงได้เริ่มทำกิจกรรมผ่านช่องทาง &”Social Network&” ดังนี้ 1.
การจัดกิจกรรมให้ตรงกับเทรนด์หรือเป็นกระแสความนิยมในขณะนั้น เช่น วันสำคัญต่างๆ เทคนิคการเลือกกิจกรรม ต้องไม่ซ้ำกับที่เคยจัดมาก่อนเพราะจะดูไม่น่าสนใจ ต้องเป็นกิจกรรมที่อยู่ในกระแสสังคม
สวัสดีค่ะ กลับมาอีกครั้ง วันนี้จะแชร์วิธีการเปลี่ยน LocationID ใน Walai AutoLib กันค่ะ จากการเปลี่ยนมาใช้โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib ในช่วงแรก ๆ นี้ทุกคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย การตั้งค่าต่าง ๆ ก็อาจจะยังไม่เรียบร้อย หลังจากเข้าอบรมมา ก็ขอจดไว้กันลืมที่นี่นะคะ ทำไมต้องเปลี่ยน LocationID? = ในการติดตั้งโปรแกรมนั้น อาจมีการตั้งค่า LocationID ที่เป็น Default ไว้เป็นหอสมุดกลาง กรณีที่ห้องสมุดติดตั้งโปรแกรมแล้วไม่ได้เปลี่ยน LocationID
สวัสดีค่ะ กลับมาอีกครั้งตามคำเรียกร้อง (ใครเหรอ?) นั่นแหละค่ะ จากที่ได้เขียนบล็อคไปได้ซักระยะ ก็ได้มีพี่ ๆ หลายท่านเข้ามาถามเกี่ยวกับการใส่ภาพประกอบในการเขียนบล็อค ไม่ว่าจะเป็น ใส่รูปภาพเข้าไปในเนื้อหายังไงอ่ะ? พี่อยากให้รูปภาพมาแสดงที่หน้าแรกของบล็อคด้วยพี่ต้องทำอย่างไร? วันนี้เราจะมาเขียนเป็นแนวทางในการใส่รูปภาพทั้ง 2 แบบกันอย่างง่ายนะคะ ถ้าสนใจรายละเอียดมากกว่านี้คลิกอ่านคู่มือได้ที่นี่เลยค่ะ การใส่ภาพประกอบในเนื้อหา 1. เตรียมภาพประกอบที่ต้องการใช้เก็บไว้ในไดร์ฟตามสะดวกเลยค่ะ 2. คลิกที่ เพิ่มสื่อ ที่ด้านบน 3. จากนั้นคลิกที่ อัพโหลดไฟล์
วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังเรื่องการตัดไฟล์รูปให้มีขนาดเท่า ๆ กันนะคะ อาจจะสงสัยนะคะว่าทำไปเพื่ออะไรหรือ? ก่อนอื่นต้องขอเล่าที่มาที่ไปของการเกิดไอเดียนี้ก่อนเลยค่ะ หลังจากได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของผู้ดำเนินโครงการจัดทำห้องสมุดบ้านโนนแต้ เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากโครงการ 50 ห้องสมุดเพื่อน้อง 50 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยปีนี้สำนักหอสมุดของเราได้ดำเนินการเองค่ะ โดยได้รับมอบหมายให้ช่วยในส่วนของการออกแบบและจัดทำพวกป้าย และบอร์ดต่าง ๆ ภายในห้องสมุด วันนี้จะพูดถึงเฉพาะงานในส่วนนี้ค่ะ หลังจากที่ได้ลงมือออกแบบบอร์ดต่าง ๆ แล้ว ก็เกิดปัญหาว่าเราจะปริ้นท์ยังไงดี เพราะตอนนี้ไม่มีเครื่องปริ้นท์แบบแผ่นใหญ่ ๆ แล้ว ที่มีตอนนี้คือเครื่องปริ้นท์สีที่ปรินท์ได้แค่ A4 F4 ใหญ่สุดแค่นี้เองค่ะ
เรื่องล่าสุด
ความเห็นล่าสุด